วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ชื่อเพลง: ขาหมู


เกลียดละคร แต่ก็ดูมันทุกตอน
เกลียดคนใจร้อน แต่ก็ชอบมวย
เกลียดคนรวยนัก ชอบดูถูกฉัน
แต่เมื่อคืนพึ่งฝันว่าถูกหวย
เกลียดใครจะได้เจอมันทุกวัน
เกลียดคนผิดนัด แต่ฉันก็เคย
เกลียดจังตอน hang ปวดหัวตอนเช้า
ตกเย็นกินเกล้าไม่หยุดเลย

* ชีวิตคนสับสนวุ่ยวาย
เพราะหัวใจมันคล้ายมีบางอย่าง
ถึงฉันเกลียดแต่ฉันก็ต้องการ ไม่ว่าใครๆ

** เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องเสียใจ
แต่ยังค้น ยังคอยจะหามันเรื่อยไป
เจ็บไม่จำ ทั้งๆที่รู้ สุดท้ายที่รออยู่คืออะไร
โอ โว้ โอว ... (โอ โว้ โอ้ว ... )
เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องร้องไห้
แต่ยามเหงาถ้าไม่มีเขาก็ไม่ได้
อยู่คนเดียวมันยังไม่พอ ต้องขอใครสักคน เข้ามาทำให้ใจเจ็บช้ำ
ไม่เข้าใจ ...

เกลียดการพนันแต่ก็เคยเป็นเจ้ามือ
รำคาญมือถือ แต่ฉันก็มี
เกลียดจังความอ้วน ใครๆก็รู้ แต่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี
เกลียดการมองคนที่หน้าตา แต่พอเจอดาราขอลายเซ็น
เกลียดคนยั้วเยี้ย อึดอัดทุกครั้ง แต่พออยู่ในผับฉันก็ต้องเต้น
( * )
( ** )

Solo

( ** )

โดย: แทตทู คัลเลอร์ (tattoo colour)

วิจารย์เพลง

เพลง "ขาหมู" นั้นแต่งขึ้นในรูปแบบภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจ โดยเนื้อเพลงจะแบ่งออกเป็นวรรคๆที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและตรงกันข้าม(contrast)ที่มักจะเริ่มด้วยคำว่า "เกลียด" (ยกเว้นใน chorus) อย่างเช่นประโยคที่ร้องว่า "เกลียดจังความอ้วน ใครๆก็รู้ แต่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี" เพื่อแสดงถึงการกระธรรมของคนเราที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับความคิด และทำให้ผู้ฟังทราบว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเภทที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก และถึงแม้เราจะเกลียดหรือไม่ชอบอะไรเท่าใด บางทีในโลกหรือสังคมนี้ เราก็จะต้องโดนความกดดันหรือจิตรใต้สำนึกสั่งให้ทำอยู่ดี

ในเพลงนี้ ผู้แต่งเริ่มเกริ่นเรื่องโดยการพูดถึงความเกลียดของตนเองหลายๆอย่างแล้วเริ่มสร้างและต่อความเกลียดเหล่านั้นขึ้นมาเรื่อยๆจนถึง chorus ซึ่งเกี่ยวกับความเกลียดของการเจ็บชำและผิดหวังเรื่องความรักของตน เพราะไม่ว่าจะเจ็บปวดจากความรักเท่าใด มนุษย์ส่วนมากก็มักที่จะมุ่งหน้ากลับไปค้นหาความรักอยู่ดี การนำเข้าสู่เรื่องในวิธีนี้มีผลดีมากๆเพราะโดยการเกริ่นเรื่องเกี่ยวกับความเกลียดต่างๆมาก่อนก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเด้น อยากรู้อยากเห็นและพร้อมที่จะฟังความเกลียดและสิ่งขัดแย้งของผู้ร้องที่จะตามมา ซึ่งนับว่าเป็นผลดีมากๆ

นอกจากนี้แล้ว การที่ผู้แต่งได้เลือกชื่อเพลงว่า "ขาหมู" ก็ทำให้ผู้ฟังสนใจและอยากที่จะฟังเพลงมากขึ้นเพื่อที่จะได้รู้ถึงเนื่อหาที่แท้จริงของเพลง และไม่ว่าอย่างไร ชื่อเพลงที่เป็นอาหารซึ่งเป็นของชอบของคนไทยส่วนมากก็ต้องเป็นที่โปรดปรานของผู้ฟังอยู่แล้ว

การใช้ภาษาและจังหวะของเพลงนี้นั้นเป็นแบบสั้นๆเร็วๆและได้ใจความ และแม้ว่าคำส่วนมากจะไม่ได้ยากหรือสวยงามเท่าใด แต่ผู้แต่งก็สามารถนำคำเหล่านั้นมาใส่เป็นประโยคที่สอดคล้องกันทำให้ฟังดูดีได้ และการที่คำส่วนมากนั้นเเป็นแบบหนักแน่นอย่างเช่น 'ก' และ 'ต' ก็ทำให้เพลงฟังดูแข็งแกร่งและดุร้ายมากขึ้น

นอกเหนือไปกว่านี้ ผู้แต่งก็ได้ใช้สัมผัสอักษรเพื่อลงท้ายประโยคต่างๆหลายๆบรรทัดทำให้เพลงอ่านง่ายและฟังลื่นหูมากขึ้น โดยการที่ประโยคเนื้อเพลงที่ไม่ใช่ chorus เกือบทุกๆบรรทัดมี 7-10 พยางค์ก็ทำให้เพลงร้องง่ายและคล้ายคลึงกับกลอนแปดเป็นมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายสุด การที่เพลง "ขาหมู" เริ่มด้วยคำว่า "เกลียด" บ่อยๆก็เป็นการซำคำ(repetition)ที่ทำให้เพลงนั้นน่าสนใจมากขึ้นและช่วยอย่างยิ่งในการตอกยำข้อความของผู้แต่งที่ตั้งใจสื่อไปสู่ผู้ฟังในแนวของการเล่าเรื่องแบบบุคคลทีหนึ่ง ซึ่งได้สื่อออกมาทางนักร้องและสามารถเชื่อมโยงได้กับคนส่วนมาก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น