วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ชื่อเพลง/กลอน: คำมั่นสัญญา


ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

โดย: สุนทร ภู่
เรื่อง: พระอภัยมณี
ขับร้องโดย: เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย

วิจารย์เพลง/กลอน '

กลอน "คำมั่นสัญญา" ซึ่งได้นำมาร้องเป็นเพลงคือกลอนความรักที่ได้ถูกเขียนมาขึ้นสำหรับเรื่องพระอภัยมณี และแน่นอนเป็นกลอนรักที่เต็มไปด้วย ambiguity และความหมายที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งเมื่อได้แปลกลอนนี้เป็นภาษาอังกฤษแล้วนั้น ก็จะได้รู้ซึ้งถึงความหมายแท้จริงที่ซ่อนอยู่ซึ่งเน้นไปทางเพศอย่างสูงโดยตัวอย่างด้านล่างซึ่งก็คือคำแปลพาคภาษอังกฤษที่ข้าพเจ้าได้แปลมาเพื่อเปรียบเทียบ

Until the end of sky, land and sea
Until the end of sky, land and sea
Our love will forever remain
Even if you are in another world under the water
I will always seek for you
If you turn into water
I will seek you in the form of fish
If you turn into a lotus
I will seek you as an inspecting, admiring you from the core
Even if you’re a cave
I will seek you in a form of lion
Following you always, making love to you
Forever and forever more...

กลอนชิ้นนี้เริ่มเรื่องด้วยการมองฉากใหญ่และมุ่งเน้นเข้าในส่วนเรื่องเรื่อยๆ โดยกวีได้เขียนจากมุมมองของบุคคลที่หนึ่งผ่านพระอภัยมณี

นอกจากนั้นแล้วกลอนชิ้นนี้ก็ตรงกับบทความที่ว่า "The best and most beautiful things can't be seen or touched. It must be felt with the heart" เพราะไม่ว่าจะอ่านกลอนชิ้นนี้กี่รอบก็ตาม ถ้าผู้อ่านไม่ทราบถึงความรู้สึกของรักและหลงที่พระอภัยมณีตั้งใจจะสื่ออกมาสำหรับผู้หญิงที่ท่านรักแล้วนั้น ผู้อ่าน/ฟังก็จะไม่สามารถที่จะรับรู้คุณค่าที่แท้จริงของกลอนบทนี้ได้ ตรงกันข้ามกับผู้ที่อ่านด้วยหัวใจ ซึ่งจะได้ประสปการณ์แห่งการค้นพบของกลอนที่สดใหม่สำหรับทุกๆคน และตรึงอยู่ในหัวใจผู้อ่านตลอดไป

สำหรับภาษาที่ใช้ในกลอนนี้ กวีได้เลือกคำ(diciton)ที่ลำลึกและสวยงาม ผสมผสานทั้งเสียงเบาและหนักรวมๆกันเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ที่ดี และเมื่อรวมไปด้วยกับสัมผัสอักษรต่างๆที่มีอยู่ทั่วกลอน ก็ทำให้กลอนบทนี้เปรียบเสหมือนกลอนแปดที่อ่านง่ายและน่าหลงไหล

กลอนบทนี้ใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้เกิดจินภาพ(imagery)และความรู้สึกที่ดีสำหรับผู้อ่าน โดยมีการใช้อุปมาอุปไม(metaphor/similie)และบุคลาธิษฐาน(personificaiton)เพื่อบรรยายถึงความรักของพระอภัยมณีให้หญิงที่ตนรัก และเปรียบเทียบทั้งสองคนเยี่ยงสิ่งต่างๆในโลกอย่างเช่นเสือและถำกับแมลงและดออกบัว

นอกเหนือจากนั้นแล้ว กลอนบทนี้ยังwfhใช้การอธิบายแบบเกินจริง(hyperbole)ซึ่งทำให้กลอนฟังดูยิ่งใหญ่และ dramatic มากขึ้น ส่วนจังหวะของกลอนก็ช้าแต่อ่านง่ายและฟังลื่นหู

สุดท้ายแล้ว กลอน "คำมั่นสัญญา" นั้นก็เป็นกลอนที่มีความหมายอันสวยงามมากๆ และได้รวบรวมสามสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับกลอนที่ดี นั่นก็คือ simplicity complexity และ clairityซึ่งลงตัวกันได้อย่างดี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น