วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

ชื่อเพลง: ฤดูที่แตกต่าง


* อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

หากเปรียบกับชีวิตของคน เมื่อยามสุขล้นจนใจมันยั้งไม่อยู่
ก็คงเปรียบได้กับฤดู คงเป็นฤดูที่แสนสดใส

** (และ)แต่ถ้าวันหนึ่งวันไหน ที่ใจเจ็บทนทุกข์ ดังพายุที่โหมเข้าใส่
บอกกับตัวเองเอาไว้ ความเจ็บต้องมีวันหาย ไม่ต่างอะไรที่เราต้องเจอทุกฤดู

(ซ้ำ *)

เมื่อวันที่ต้องเจ็บช้ำใจ จากความผิดหวังจนใจมันรับไม่ทัน
เป็นธรรมดาที่เราต้องไหวหวั่น กับวันที่อะไรมันเปลี่ยนไป

(ซ้ำ ** , *)

อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ อย่าไปคิดว่ามันเป็นวันสุดท้าย
น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย หากไม่รู้จักเจ็บปวดก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ

(ซ้ำ *)

โดย: บอย โกสิยะพงศ์

วิจารย์เพลง

เพลง "ฤดูที่แตกต่าง" เป็นเพลงที่มีชื่อน่าสนใจและเต็มไปด้วย ambiguity ที่คลุมเคลือความหมายจริงๆของเพลงนี้อยู่ โดยผู้แต่งได้เลือกใช้ฤดูต่างๆบนโลกนี่ที่ล้วนแตกต่างและแปลกใหม่ไม่เหมือนกันมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาในชีวิตของมนุษย์ ที่ล้วนมีแต่สิ่งที่ดีและไม่ดีรวมอยู่ด้วยกัน โดยสื่อให้ผู้ฟังทราบว่า ชีวิตนั้นไม่ได้สมบูรณ์แบบตลอดไป และการเผชิญสิ่งร้ายๆก็เป็นเปรียบเสหมือนกุญแจสำคัญที่ทำให้เราทราบซึ้งถึงคุณค่าของเวลาดีๆและแข็งแกร่งมากขึ้น เช่นเดียวกับเนื้อเพลงที่กล่าวว่า "อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง" ซึ่งสื่อความหมายออกมาได้อย่างดีและลงตัวมาก

การวางแบบฟอร์มของเพลงนี้นั้นเริ่มโดยการเข้าเรื่องทันทีและต่อไปเรื่อยๆทั้งเพลงในแบบร้องให้สู่ผู้ฟังเปรียบเสหมือนบทความที่ให้กำลังใจสำหรับทุกๆคนที่ท้อในชีวิต

ส่วนอารมณ์และบรรยกาศ(mood/tone)ของเพลงก็คล้ายคลึงกับเพลงสู้ชีวิต ในจังหวะที่ปานกลางและจำง่าย โดยพลงจะแบ่งเป็นท่อนๆที่ซำไปซำมาสอดคล้องไปด้วยสัมผัสสระต่างๆซึ่งช่วยในการร้อง ทำให้เพลงฟังดูลื่นหูมากขึ้น และเมื่อรวบรวมเข้าไปกับเสียงของคำที่เปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่องของเพลงทั้งหนักและและเบาก็ทำให้เพลงน่าสนใจมากขึ้น

ในเพลงผู้แต่งได้ใช้อุปมาอุปไม(similie and metaphor)เพื่อแสดงถึงความรู้สึกของคนที่เปลี่ยนแปลงไปตามบรรยกาศและฤดูการ อย่างเช่นเมื่อผู้แต่งได้เปรียบเทียบความเจ็บปวดของคนเรากับ "พายุที่โหมเข้าใส่" ทำให้สิ่งเหล่านั้นดูรุนแรงแต่มีทางออก เพราะพายุก็ต้องหยุดเวลาใดเวลาหนึ่ง

สุดท้ายแล้ว เพลง "ฤดูที่แตกต่าง" ก็นับว่าเป็นเพลงที่มีความหมายที่ดีมากๆทีเดียว และด้วยความลึกซึ้งและสวยงามของเนื้อเพลงผู้ฟังก็สามารถจินตนาการถึงบรรกาศที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้แต่งได้อย่างสมบูรณ์พร้อมกับรู้สึกมั่นใจและท้อแท้น้อยลงกับปัญหาต่างๆที่มี.

ชื่อเพลง: ปาฏิหารย์

เมื่อเราเจอกัน เจอกันแค่ครั้งเดียว
ก็ผูกพันเหมือน ใกล้ชิดมานาน
บอกไม่ถูกว่าทำไม
หรือเราจะเคยได้เจอกันชาติก่อน

ต่างใจตรงกัน มองตาก็เข้าใจ
แต่คงเป็นเพียงได้แค่มองตา
อยากจะกอดเก็บเธอไว้
แต่พบกันเมื่อสาย ไม่อยากจะแย่งใคร

น่าจะเจอกันมาตั้งนาน
ก่อนที่เธอจะเป็นของใคร
อยากให้มันมีปาฏิหารย์
ให้ตัวฉันย้อนเวลากลับไป
จะไม่ยอมให้เราคลาดกัน
ฉันคงจะพบรักเธอก่อนใคร
มันน่าเสียดาย ปาฎิหารย์ไม่มีจริง


โดย: กบทรงสิทธิ์

วิจารย์เพลง

เพลง "ปาฏิหารย์" เป็นเพลงที่มีเนื้อหาซึ่งสท้อนไปถึงความรู้สึกเสียดายของผู้แต่ง/ผู้ร้องที่มุ่งหวังอย่างยิ่งให้เวลาย้อนกลับไป

ชื่อเพลง "ปาฏิหารย์" ฟังดูน่าค้นหาเพราะคำๆนี้เป็นคำที่ให้ความหวังสำหรับมนุษย์ทุกๆคนในโลก เพราะไม่ว่าจะเป็นใครมาจากที่ไหน ก็ล้วนแต่มุ่งหวังในปาฏิหารย์ให้เกิดขึ้นกับตนเองทั้งนั้น ทำให้เพลงนี่สามารถดึงดูดผู้ฟังได้อย่างดี

เนื้อหาในเพลงเป็นการเกริ่นขึ้นมาตั้งแต่แรกพบความรักของผู้แต่ง และเริ่มพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง chorus ซึ่งเป็นช่วงที่ความหวังของผู้แต่งได้สื่ออกมาในคำว่า "น่าจะ" และ "อยากให้" ซึ่งเข้ากับเนื้อความของเพลงได้เป็นอย่างดี

นอกจานั้นแล้วผู้แต่งยังได้เลือกที่จะแต่งเพลงขึ้นมาในแบบช้าและซึ้งซึ่งสอดคล้องได้ดีกับคำร้องและให้อารมณ์(mood/tone)ที่ทึมและเศร้าเสียดายแต่แฝงไปด้วยความหวังลึกๆของผู้แต่งที่จะได้สมหวังในความรักที่สื่อออกมาในบุคคลที่หนึ่งผ่านผู้ร้อง

ด้านการใช้คำในเพลงนี้จะเน้นไปในทางคำศัพย์ง่ายๆแต่ลึกซึ้งที่มีเสียงหนักและเบารวมๆกันอยู่ ส่วนการใช้คำสัมผัส(rhyme)ก็มีอยู่ตลอดช่วงเพลงทั้งสัมผัสนอกและในทำให้ร้อง/ฟังง่ายมากขึ้น

สุดท้ายสุดเพลงปาฏิหารย์ก็นับได้ว่าเป็นเพลงที่โปรดปรานของคนหลายๆคน และด้วยเนื้อเพลงที่เต็มไปด้วยความหวังของผู้แต่ง เพลงปาฏิหารย์นี้ก็เปรียบเสหมือนเพลงที่ช่วยจุดประกายความหวังให้ผู้ฟังหลายๆคน และถึงแม้เพลงจะจบในแนวเศร้าๆก็ตามแต่ผู้ฟังที่มีความศรัทธาก็จะสามารถรับรู้ได้ว่าประโยคที่กล่าวว่า 'ปาฎิหารย์ไม่มีจริง' นั้นเป็น paradox และที่จริงปาฏิหารย์ก็สามสรถเกิดขึ้นได้สำหรับทุกๆคน.

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

ชื่อเพลง: คิดถึงบ้าน



มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน


มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา


ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน


มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน


มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน


ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน




อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน


มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน


ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน


มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม


แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา


ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน




อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน


มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน


ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน


มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม


แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา


ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน


โดย: จรัล มโนเพ็ชร


วิจารย์เพลง

เพลง "คิดถึงบ้าน" เป็นเพลงที่มีความหมายน่ารักและลึกซึ้ง ซึ่งได้แต่งมาเพื่อให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นแบบบุคคลที่หนึ่งพรรณนาถึงความคิดถึงบ้านของตนในยามที่อยู่คนเดียว โดยเนื้อหาหลักนั้นก็เชื่อมโยงกับชื่อเพลงเป็นอย่างดีทำให้น่าฟังเป็นอย่างมาก

การแบ่งวางเรื่อง(format)ของเพลงนี้จัดเป็นสามส่วนแบบส่วนละหกบั้ยทัดที่คล้ายคลึงกับการวางแบบของกลอนหก ซึ่งเนื้อหาก็เริ่มตั้งแต่การบรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่บนฟากฟ้า ที่เหมือนๆกันในทุกที่ในโลกและเริ่มโยงมาถึงความคิดถึงบ้านของผู้ร้องและความรู้สึกที่ไม่ดีเกี่ยวกับคนกรุงเทพ ที่ไม่ใจดีอย่างที่เขาเคยคุ้นชินมาจากบ้านเก่า ซึ่งก็คือต่างจังหวัดที่ใดที่หนึ่ง

ด้านการใช้ภาษาในเพลงนี้ ผู้แต่งเลือกที่จะเขียนเพลงในแนวเรียบง่ายแต่ขณะเดียวกันแฝงไปด้วยความหมายที่จับใจผู้ฟัง โดยการใช้เสียงเบาและสวยงามเช่น r, l, w และสัมผัสสระควบคู่ไปอยู่ด้วยกันทำให้เพลงในไสตล์ช้าๆนี้ฟังง่ายและลื่นหูยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว ผู้แต่งยังได้เลือกการใช้คำและประโยคซำๆ(repetition)อย่างเช่น "คิดถึงบ้าน" และ "มองดูดวงดาว/ดวงจันทร์/ดวงตะวัน" ซึ่งเป็นสัมผัสพยัญชนะ(alliteration) เพื่อเน้นถึงความสำคัญของประโยคเหล่านี้และส่งเสริมความรู้สึกและอารมณ์ที่เหงาหงอยและโดดเดี่ยวของผู้ร้องให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองแก่ theme ของเพลง

เมื่อดูทางด้านสร้างจินตภาพ(imagery)ผู้แต่งก็ได้เล่นคำโดยการอธิบายสิ่งสองอย่างที่ตรงกันข้ามกันในท่อนที่กล่าวว่า "มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา" เพื่อสื่อให้คนฟังได้ทราบถึงมุมมองของชาวกรุงผ่านสายตาของคนภายนอกที่ได้สัมผัส และในเวลาเดียวกันก็ได้เพิ่มจังหวะการร้องให้กับเพลงด้วยการแบ่งคำเป็นท่อนๆในวรรคละไม่เกินสิบเอ็ดพยางค์จึงทำให้เพลงฟังง่ายและติดหูมากขึ้น

สุดท้ายแล้ว เพลงคิดถึงบ้านนั้นก็เป็นเสหมือนตัวแทนคำร้องของชายหญิงทุกเพศทุกวัยที่ได้จากบ้านไปอยู่ที่ต่างแดนไกลๆ โดยการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา และช่วยตอบสนองความรู้สึกของผู้ฟังทุกๆคนที่อยู่ในเหตุการเดียวกัน และบอกให้ผู้ฟัคงนทราบว่า ถึงแม้เราจะอยู่ห่างไกลกับคนหลายๆคนที่เรารักและคิดถึงมากเท่าใด แต่ก็ขอให้รู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนฟ้าที่เราเห็นก็ยังเป็นเหมือนอย่างเดิมกับที่บ้านตลอดไป...

ชื่อกลอน: เสียเจ้า

เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย ๚

จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย
อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๚

ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์
ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้
ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๚

แม้แต่ธุลีมิอาลัย
ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน
จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๚

ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า
ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา
ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚

โดย: อังคาร กัลยาณพงศ์

กลอน "เสียเจ้า" เป็นกลอนที่แต่งขึ้นจากความแค้นของชายคนหนึ่งสู่หญิงที่ตนรัก โดยนำเสียงในกลอนนั้นเต็มไปด้วยความเกลียดและรักที่วิงวอนผสมผสานอยู่ด้วยกันเปรียบเสหมือนกับคำขู่และของร้องรวมเป็นอย่างเดียวกัน

กลอนบทนี้เน้นเป้าหมายไปทางผู้ชายเพื่อปลดปล่อยความโกรธแค้นของตน และกวีก็ได้ใช้เทคนิคการเขียนต่างๆเพื่อด่า ว่าและขู่คนรักของตน ทำให้เมื่อผู้หญิงอ่านแล้วรู้สึกกระทบกระเทือนโดยกวีเริ่มเรื่องด้วยการบรรยายเกี่ยวกับการสูญเสียของชายคนหนึ่งจากมุมมองบุคคลที่หนึ่ง และต่อไปเรื่อยๆในตัวเรื่องซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาตั้งใจจะทำกับหญิงที่ทิ้งเขาไป

นอกจากนั้นแล้ว เพื่อเสริมสร้างความรุนแรงของกลอนบทนี้ให้มากยิ่งขึ้น กวียังได้เลือกใช้ภาษาที่สวยงามแต่ในเวลาเดียวกันประกอบไปด้วยเสียงหนักเช่น p,t และ k เพื่อตั้งอารมณ์ (mood) ของกลอนจากในมุมมองของผู้พูดให้ฟังดูดุดันและรุนแรง อย่างเช่นท่อนที่กล่าวว่า "มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย ๚" ซึ่งประกอบไปด้วยคำอธิบายเกินจริง(hyperbole)ที่เปรียบเสหมือนตัวช่วยเพิ่มจินตภาพ(imagery)ให้แก่ผู้ฟัง/อ่าน

ในด้านการใช้คำ(diciton)ในกลอนบทนี้กวีก็ได้เลือกใช้คำที่ฟังดูรุนแรงอย่างเช่น "หม่นไหม้" และ "ตรมตาย" ซึ่งล้วนแต่เป็นคำที่มีสัมผัสพยัญชนะ(alliteration)ทั้งนั้นเพื่อเหตุผลในการช่วยสร้างความน่ากลัวและส่งเสริมเกี่ยวกับความตาย

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้แต่งก็ได้เลือกที่จะให้ผู้ชายในกลอนเรียกคนรักของตนเองว่า "เจ้า" ซึ่งเป็นคำที่สามารถพูดได้ในทั้งสอง tone ทั้งรักและเกลียดชังซึ่งเข้ากับความหมายของกลอนนี้เป็นอย่างดีเพราะถึงผู้ชายจะร้ายต่อหญิงของตน แต่ที่จริงในจิตรลึกๆแล้วเขาก็รัก

สุดท้ายสุด กลอนบทนี้ก็เปรียบเสหมือนที่ปลดปล่อยอารมณ์ความแค้นของกวี โดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรงและสวยงามเพื่อให้เกิดจังหวะและการอ่านที่ไหลลื่นคล้ายๆกับกาพย์ยานีสิบเอ็ด

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ชื่อเพลง: ขาหมู


เกลียดละคร แต่ก็ดูมันทุกตอน
เกลียดคนใจร้อน แต่ก็ชอบมวย
เกลียดคนรวยนัก ชอบดูถูกฉัน
แต่เมื่อคืนพึ่งฝันว่าถูกหวย
เกลียดใครจะได้เจอมันทุกวัน
เกลียดคนผิดนัด แต่ฉันก็เคย
เกลียดจังตอน hang ปวดหัวตอนเช้า
ตกเย็นกินเกล้าไม่หยุดเลย

* ชีวิตคนสับสนวุ่ยวาย
เพราะหัวใจมันคล้ายมีบางอย่าง
ถึงฉันเกลียดแต่ฉันก็ต้องการ ไม่ว่าใครๆ

** เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องเสียใจ
แต่ยังค้น ยังคอยจะหามันเรื่อยไป
เจ็บไม่จำ ทั้งๆที่รู้ สุดท้ายที่รออยู่คืออะไร
โอ โว้ โอว ... (โอ โว้ โอ้ว ... )
เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องร้องไห้
แต่ยามเหงาถ้าไม่มีเขาก็ไม่ได้
อยู่คนเดียวมันยังไม่พอ ต้องขอใครสักคน เข้ามาทำให้ใจเจ็บช้ำ
ไม่เข้าใจ ...

เกลียดการพนันแต่ก็เคยเป็นเจ้ามือ
รำคาญมือถือ แต่ฉันก็มี
เกลียดจังความอ้วน ใครๆก็รู้ แต่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี
เกลียดการมองคนที่หน้าตา แต่พอเจอดาราขอลายเซ็น
เกลียดคนยั้วเยี้ย อึดอัดทุกครั้ง แต่พออยู่ในผับฉันก็ต้องเต้น
( * )
( ** )

Solo

( ** )

โดย: แทตทู คัลเลอร์ (tattoo colour)

วิจารย์เพลง

เพลง "ขาหมู" นั้นแต่งขึ้นในรูปแบบภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจ โดยเนื้อเพลงจะแบ่งออกเป็นวรรคๆที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและตรงกันข้าม(contrast)ที่มักจะเริ่มด้วยคำว่า "เกลียด" (ยกเว้นใน chorus) อย่างเช่นประโยคที่ร้องว่า "เกลียดจังความอ้วน ใครๆก็รู้ แต่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี" เพื่อแสดงถึงการกระธรรมของคนเราที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับความคิด และทำให้ผู้ฟังทราบว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเภทที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก และถึงแม้เราจะเกลียดหรือไม่ชอบอะไรเท่าใด บางทีในโลกหรือสังคมนี้ เราก็จะต้องโดนความกดดันหรือจิตรใต้สำนึกสั่งให้ทำอยู่ดี

ในเพลงนี้ ผู้แต่งเริ่มเกริ่นเรื่องโดยการพูดถึงความเกลียดของตนเองหลายๆอย่างแล้วเริ่มสร้างและต่อความเกลียดเหล่านั้นขึ้นมาเรื่อยๆจนถึง chorus ซึ่งเกี่ยวกับความเกลียดของการเจ็บชำและผิดหวังเรื่องความรักของตน เพราะไม่ว่าจะเจ็บปวดจากความรักเท่าใด มนุษย์ส่วนมากก็มักที่จะมุ่งหน้ากลับไปค้นหาความรักอยู่ดี การนำเข้าสู่เรื่องในวิธีนี้มีผลดีมากๆเพราะโดยการเกริ่นเรื่องเกี่ยวกับความเกลียดต่างๆมาก่อนก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเด้น อยากรู้อยากเห็นและพร้อมที่จะฟังความเกลียดและสิ่งขัดแย้งของผู้ร้องที่จะตามมา ซึ่งนับว่าเป็นผลดีมากๆ

นอกจากนี้แล้ว การที่ผู้แต่งได้เลือกชื่อเพลงว่า "ขาหมู" ก็ทำให้ผู้ฟังสนใจและอยากที่จะฟังเพลงมากขึ้นเพื่อที่จะได้รู้ถึงเนื่อหาที่แท้จริงของเพลง และไม่ว่าอย่างไร ชื่อเพลงที่เป็นอาหารซึ่งเป็นของชอบของคนไทยส่วนมากก็ต้องเป็นที่โปรดปรานของผู้ฟังอยู่แล้ว

การใช้ภาษาและจังหวะของเพลงนี้นั้นเป็นแบบสั้นๆเร็วๆและได้ใจความ และแม้ว่าคำส่วนมากจะไม่ได้ยากหรือสวยงามเท่าใด แต่ผู้แต่งก็สามารถนำคำเหล่านั้นมาใส่เป็นประโยคที่สอดคล้องกันทำให้ฟังดูดีได้ และการที่คำส่วนมากนั้นเเป็นแบบหนักแน่นอย่างเช่น 'ก' และ 'ต' ก็ทำให้เพลงฟังดูแข็งแกร่งและดุร้ายมากขึ้น

นอกเหนือไปกว่านี้ ผู้แต่งก็ได้ใช้สัมผัสอักษรเพื่อลงท้ายประโยคต่างๆหลายๆบรรทัดทำให้เพลงอ่านง่ายและฟังลื่นหูมากขึ้น โดยการที่ประโยคเนื้อเพลงที่ไม่ใช่ chorus เกือบทุกๆบรรทัดมี 7-10 พยางค์ก็ทำให้เพลงร้องง่ายและคล้ายคลึงกับกลอนแปดเป็นมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายสุด การที่เพลง "ขาหมู" เริ่มด้วยคำว่า "เกลียด" บ่อยๆก็เป็นการซำคำ(repetition)ที่ทำให้เพลงนั้นน่าสนใจมากขึ้นและช่วยอย่างยิ่งในการตอกยำข้อความของผู้แต่งที่ตั้งใจสื่อไปสู่ผู้ฟังในแนวของการเล่าเรื่องแบบบุคคลทีหนึ่ง ซึ่งได้สื่อออกมาทางนักร้องและสามารถเชื่อมโยงได้กับคนส่วนมาก.

ชื่อเพลง/กลอน: คำมั่นสัญญา


ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

โดย: สุนทร ภู่
เรื่อง: พระอภัยมณี
ขับร้องโดย: เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย

วิจารย์เพลง/กลอน '

กลอน "คำมั่นสัญญา" ซึ่งได้นำมาร้องเป็นเพลงคือกลอนความรักที่ได้ถูกเขียนมาขึ้นสำหรับเรื่องพระอภัยมณี และแน่นอนเป็นกลอนรักที่เต็มไปด้วย ambiguity และความหมายที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งเมื่อได้แปลกลอนนี้เป็นภาษาอังกฤษแล้วนั้น ก็จะได้รู้ซึ้งถึงความหมายแท้จริงที่ซ่อนอยู่ซึ่งเน้นไปทางเพศอย่างสูงโดยตัวอย่างด้านล่างซึ่งก็คือคำแปลพาคภาษอังกฤษที่ข้าพเจ้าได้แปลมาเพื่อเปรียบเทียบ

Until the end of sky, land and sea
Until the end of sky, land and sea
Our love will forever remain
Even if you are in another world under the water
I will always seek for you
If you turn into water
I will seek you in the form of fish
If you turn into a lotus
I will seek you as an inspecting, admiring you from the core
Even if you’re a cave
I will seek you in a form of lion
Following you always, making love to you
Forever and forever more...

กลอนชิ้นนี้เริ่มเรื่องด้วยการมองฉากใหญ่และมุ่งเน้นเข้าในส่วนเรื่องเรื่อยๆ โดยกวีได้เขียนจากมุมมองของบุคคลที่หนึ่งผ่านพระอภัยมณี

นอกจากนั้นแล้วกลอนชิ้นนี้ก็ตรงกับบทความที่ว่า "The best and most beautiful things can't be seen or touched. It must be felt with the heart" เพราะไม่ว่าจะอ่านกลอนชิ้นนี้กี่รอบก็ตาม ถ้าผู้อ่านไม่ทราบถึงความรู้สึกของรักและหลงที่พระอภัยมณีตั้งใจจะสื่ออกมาสำหรับผู้หญิงที่ท่านรักแล้วนั้น ผู้อ่าน/ฟังก็จะไม่สามารถที่จะรับรู้คุณค่าที่แท้จริงของกลอนบทนี้ได้ ตรงกันข้ามกับผู้ที่อ่านด้วยหัวใจ ซึ่งจะได้ประสปการณ์แห่งการค้นพบของกลอนที่สดใหม่สำหรับทุกๆคน และตรึงอยู่ในหัวใจผู้อ่านตลอดไป

สำหรับภาษาที่ใช้ในกลอนนี้ กวีได้เลือกคำ(diciton)ที่ลำลึกและสวยงาม ผสมผสานทั้งเสียงเบาและหนักรวมๆกันเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ที่ดี และเมื่อรวมไปด้วยกับสัมผัสอักษรต่างๆที่มีอยู่ทั่วกลอน ก็ทำให้กลอนบทนี้เปรียบเสหมือนกลอนแปดที่อ่านง่ายและน่าหลงไหล

กลอนบทนี้ใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้เกิดจินภาพ(imagery)และความรู้สึกที่ดีสำหรับผู้อ่าน โดยมีการใช้อุปมาอุปไม(metaphor/similie)และบุคลาธิษฐาน(personificaiton)เพื่อบรรยายถึงความรักของพระอภัยมณีให้หญิงที่ตนรัก และเปรียบเทียบทั้งสองคนเยี่ยงสิ่งต่างๆในโลกอย่างเช่นเสือและถำกับแมลงและดออกบัว

นอกเหนือจากนั้นแล้ว กลอนบทนี้ยังwfhใช้การอธิบายแบบเกินจริง(hyperbole)ซึ่งทำให้กลอนฟังดูยิ่งใหญ่และ dramatic มากขึ้น ส่วนจังหวะของกลอนก็ช้าแต่อ่านง่ายและฟังลื่นหู

สุดท้ายแล้ว กลอน "คำมั่นสัญญา" นั้นก็เป็นกลอนที่มีความหมายอันสวยงามมากๆ และได้รวบรวมสามสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับกลอนที่ดี นั่นก็คือ simplicity complexity และ clairityซึ่งลงตัวกันได้อย่างดี.